อาคารบ้านเรือนและร้านค้าที่สร้างขึ้นในรูปแบบ การก่อสร้างที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก คือ เป็น “ตึกแถว ” 1 หรือ 2 ชั้น ที่มีหลังคาสูงเสมอกัน การสร้าง “ตึกแถว” ที่เกิดขึ้นยุคแรกนั้น กล่าวกันว่าได้แบบมาจาก “ตึกแถว ” สไตล์ “โคโลเนียล ” ที่ “ปีนัง ”และ “สิงคโปร์ ” ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารที่มีที่ดินติดริมถนนร่วมกันสร้าง “ตึกแถว ” เพื่อให้บ้านเมืองดูเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม ดังนั้น “ตึกแถว ” ในยุคแรกจึงเป็นภาพลักษณ์ของความ “ทันสมัย ” เพราะทั้ง “ถนน ” และ “ตึกแถว” , “ไฟฟ้า ” ตลอดจน “รถราง ” ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งแปลกใหม่ที่เกิดขึ้นกับเมืองไทยในช่วงนั้น
ยุคต่อมา “ตึกแถว” กลายเป็นอาคารที่ตอบรับกับความต้องการของประชาชนที่ต้องการทำกิจการค้า จึงทำให้ “ตึกแถว ” ได้รับความนิยม และเป็น “อสังหาริมทรัพย์” ที่คืนทุนเร็วอีกด้วย ทำให้การก่อสร้าง “ตึกแถว ” ดำเนินต่อเนื่องติดต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย มีพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ใช้ในการก่อสร้าง รวมทั้งรูปแบบของตัวอาคาร “ตึกแถว” ซึ่งยุคเริ่มต้นส่วนใหญ่เป็นอาคารสองชั้น บันไดไม้ พื้นไม้ โครงหลังคาไม้ วงกบและบานหน้าต่างเป็นไม้ ด้านหน้าอาคารประดับลวดลายปูนปั้น ประตูทางเข้าชั้นล่างเป็นบานเฟี้ยมไม้ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง “ตึกแถว ” ก็เริ่มพัฒนาขึ้นประกอบกันกับ ประเทศสามารถผลิต ‘เหล็กเส้น ’ ได้เอง “ตึกแถว” จึงมีวิวัฒนาการตามความทันสมัยของเทคโนโลยีและวัสดุในการก่อสร้าง สามารถสร้าง “ตึกแถว ” ได้ 3 ถึง 4 ชั้นครึ่ง พัฒนาหลังคาจากมุงกระเบื้องเป็นหลังคาแบน ( Flat Slab) ในลักษณะดาดฟ้าคอนกรีตเสริมเหล็ก มีระเบียงบนชั้นที่ 2 และมีประตูเปิดออกมาที่ระเบียงด้านนอกได้ ซึ่ง “ตึกแถว” ยุคนี้เกิดพร้อมโรงภาพยนตร์และศูนย์การค้า เช่น ที่ย่าน “สยามสแควร์ ”, “วังบูรพา” ถือได้ว่าเป็นยุค “เฟื่องฟู ” ของ “ตึกแถว ” อีกช่วงหนึ่งในประเทศ ต่อมาเมื่อวงการ “อสังหาริมทรัพย์ ” และการก่อสร้างได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ปีพ.ศ. 2525 เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่าง “รุ่งโรจน์ ชัชวาลย์ ” ที่ดินมีราคาแพงขึ้นเกิดการก่อสร้างอาคารลักษณะใหม่ๆ ที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นและมีความสูงขึ้นนับสิบชั้น เช่น อาคารสำนักงาน, ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ทำให้ “ตึกแถว” ในเมืองถึงยุคชลอตัว “ตึกแถว ” จึงทยอยออกไปผุดตาม “ชานเมือง ” และ “หัวเมือง ” ขณะเดียวกัน “ตึกแถว ” ก็พัฒนารูปแบบถึงขีดสุด คือสร้างได้ถึง 4-5 ชั้น มี “ลิฟท์” โดยสาร ก่อสร้างด้วยวัสดุทันสมัย โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือเหล็ก รวมทั้งใช้วัสดุทนไฟ ประตูหน้าต่างมีทั้งที่เป็นกรอบไม้-กรอบอะลูมิเนียม มีทั้งบานเปิดและบานเลื่อนและสามารถปรับประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายเพิ่มมากขึ้นและสามารถตอบโจทย์กับวิถีชีวิตสมัยใหม่ในยุคการค้าเสรี “อาเซียน” มากยิ่งขึ้นครับ
จึงเป็นที่นิยมในการก่อสร้างและทำการขายตึกแถว ในยุคต่อๆมา
ยุคต่อมา “ตึกแถว” กลายเป็นอาคารที่ตอบรับกับความต้องการของประชาชนที่ต้องการทำกิจการค้า จึงทำให้ “ตึกแถว ” ได้รับความนิยม และเป็น “อสังหาริมทรัพย์” ที่คืนทุนเร็วอีกด้วย ทำให้การก่อสร้าง “ตึกแถว ” ดำเนินต่อเนื่องติดต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย มีพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ใช้ในการก่อสร้าง รวมทั้งรูปแบบของตัวอาคาร “ตึกแถว” ซึ่งยุคเริ่มต้นส่วนใหญ่เป็นอาคารสองชั้น บันไดไม้ พื้นไม้ โครงหลังคาไม้ วงกบและบานหน้าต่างเป็นไม้ ด้านหน้าอาคารประดับลวดลายปูนปั้น ประตูทางเข้าชั้นล่างเป็นบานเฟี้ยมไม้ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง “ตึกแถว ” ก็เริ่มพัฒนาขึ้นประกอบกันกับ ประเทศสามารถผลิต ‘เหล็กเส้น ’ ได้เอง “ตึกแถว” จึงมีวิวัฒนาการตามความทันสมัยของเทคโนโลยีและวัสดุในการก่อสร้าง สามารถสร้าง “ตึกแถว ” ได้ 3 ถึง 4 ชั้นครึ่ง พัฒนาหลังคาจากมุงกระเบื้องเป็นหลังคาแบน ( Flat Slab) ในลักษณะดาดฟ้าคอนกรีตเสริมเหล็ก มีระเบียงบนชั้นที่ 2 และมีประตูเปิดออกมาที่ระเบียงด้านนอกได้ ซึ่ง “ตึกแถว” ยุคนี้เกิดพร้อมโรงภาพยนตร์และศูนย์การค้า เช่น ที่ย่าน “สยามสแควร์ ”, “วังบูรพา” ถือได้ว่าเป็นยุค “เฟื่องฟู ” ของ “ตึกแถว ” อีกช่วงหนึ่งในประเทศ ต่อมาเมื่อวงการ “อสังหาริมทรัพย์ ” และการก่อสร้างได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ปีพ.ศ. 2525 เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่าง “รุ่งโรจน์ ชัชวาลย์ ” ที่ดินมีราคาแพงขึ้นเกิดการก่อสร้างอาคารลักษณะใหม่ๆ ที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นและมีความสูงขึ้นนับสิบชั้น เช่น อาคารสำนักงาน, ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ทำให้ “ตึกแถว” ในเมืองถึงยุคชลอตัว “ตึกแถว ” จึงทยอยออกไปผุดตาม “ชานเมือง ” และ “หัวเมือง ” ขณะเดียวกัน “ตึกแถว ” ก็พัฒนารูปแบบถึงขีดสุด คือสร้างได้ถึง 4-5 ชั้น มี “ลิฟท์” โดยสาร ก่อสร้างด้วยวัสดุทันสมัย โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือเหล็ก รวมทั้งใช้วัสดุทนไฟ ประตูหน้าต่างมีทั้งที่เป็นกรอบไม้-กรอบอะลูมิเนียม มีทั้งบานเปิดและบานเลื่อนและสามารถปรับประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายเพิ่มมากขึ้นและสามารถตอบโจทย์กับวิถีชีวิตสมัยใหม่ในยุคการค้าเสรี “อาเซียน” มากยิ่งขึ้นครับ
จึงเป็นที่นิยมในการก่อสร้างและทำการขายตึกแถว ในยุคต่อๆมา